ตอนนี้น้องพูนพูนฟันเริ่มหลุดแล้วค่ะ กลายเป็นอสรพิษน้อย อิอิ วางแผนไว้ว่าจะพาน้องไปหาคุณหมอฟันซะหน่อย ก็เลยต้องหาข้อมูลก่อนไป เพราะเจ้าลูกชายโวยวายไม่ยอมไป เฮ้อ....ทำงัยดีหว่า
เชื่อว่าเด็กๆ ทุกคนคงไม่มีใครอยากปวดฟัน ฟันผุ จนต้องไปถอนฟัน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงเป็นคนสำคัญที่จะดูแลฟันของลูกให้แข็งแรงได้ตั้งแต่ลูกอยู่ในครรภ์ ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง และเมื่อคลอดออกมาแล้วก็ต้องหมั่นทำความสะอาดช่องปากให้ลูกน้อย จนกระทั่งลูกมีฟันซี่แรกแล้วก็ต้องพาไปหาหมอฟัน การพาลูกไปหาหมอฟันตั้งแต่เด็กมีส่วนสำคัญในการป้องกันฟันผุ และสร้างสุขภาพฟันที่ดีเมื่อโตขึ้น จึงอาสาพาคุณพ่อคุณแม่และเด็กๆ ไปหาหมอฟัน ที่ สมภพ อัมพุช คลินิก
ทพญ.อัมพุช อินทรประสงค์ ผู้ก่อตั้งสมภพ อัมพุช คลินิก ซึ่งเปิดดำเนินการมากว่า 30 ปี “พ่อแม่ที่เคยเป็นคนไข้ตอนเด็กๆ พอมีลูกก็เอาลูกมาทำฟันที่นี่ด้วย เราเริ่มจากคลินิกเด็กก่อน ปัจจุบันพัฒนาเป็นศูนย์ทันตกรรมครอบครัวครบวงจร เน้นเรื่องมาตรฐานความปลอดภัย มีลานกิจกรรม มีห้องสำหรับแปรงฟัน มีเสื้อตะกั่วป้องกันรังสีสำหรับเด็ก” เปิดให้บริการมายาวนานเช่นนี้ แน่นอนว่าต้องมีคำแนะนำดีๆ สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องพาลูกไปหาหมอฟันครั้งแรก “เราแนะนำโดยทั่วไปว่าให้มาตั้งแต่ลูกมีฟันซี่แรกขึ้น หรือประมาณ 6 เดือน แต่ไม่ควรเกิน 1 ปี เนื่องจากเราเน้นเรื่องทันตกรรมป้องกันสำหรับเด็กซึ่งสำคัญมาก สมัยก่อนเราจะเห็นว่ามักให้เด็กมา 3 ขวบ เพราะเด็กจะได้พูดรู้เรื่อง แต่จริงๆ แล้วพอถึง 3 ขวบเด็กจะเริ่มมีฟันผุ ปวดฟัน แล้วถ้าโดนทำฟันตอนเจ็บๆ สักครั้งหนึ่ง เขาก็ไม่อยากทำ ไม่ให้ความร่วมมือ เมื่อเริ่มต้นไม่ดีจะกลายเป็นพื้นฐานและทัศนคติที่ไม่ดีของเด็กต่อไป”
เมื่อมาหาหมอฟันแล้ว คุณหมอจะทำอะไรบ้าง “คือพ่อแม่จำนวนไม่น้อยคิดว่ามาแล้วต้องทำอะไร คุณหมอดูแล้ว ไม่เห็นทำอะไรเลย เสียเวลา คุ้มค่าไหม หมอบอกเลยว่าพ่อแม่ต้องเข้าใจก่อนว่ามาทำอะไร เรามาเพื่อการป้องกัน หมอฟันเด็กทุกคนก็จะรู้ว่าเป็นการมาเพื่อการประเมินความเสี่ยงของเด็กแต่ละคนว่ามีโอกาสฟันผุไหม ซึ่งฟันผุเกิดจากหลายปัจจัย เช่น ยังดูดนมขวดอยู่ไหม กินจุกจิกหรือเปล่า หรือกินคุกกี้ทั้งวันไม่เคยกินอะไรเลย ดื่มน้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลมาก เหล่านี้มีส่วนทำให้ฟันผุ ซึ่งหมอก็ดูว่าปัจจัยใดที่ทำให้เด็กคนนี้ฟันผุ คุยกันกับพ่อแม่ ถ้าเด็กคนนี้ยังดูดนมจากขวด ดูแลฟันไม่ค่อยดี เราก็จะแก้ปัจจัยนั้นๆ แล้วนัดให้มาบ่อยขึ้น นอกจากนี้ หมอยังสอนวิธีแปรงฟัน ดูแลทำความสะอาดช่องปากที่ถูกต้อง รวมถึงช่วยให้คำแนะนำต่างๆ เช่น บางทีลูกเกิดมาก่อนกำหนด โครงสร้างของฟันอาจจะไม่แข็งแกร่ง ถ้าเรารู้ เราก็จะได้ดูแลเป็นพิเศษ “ถ้าดูแลพันน้ำนมดี ฟันแท้ก็จะดีตามไปด้วย แต่ถ้ารอให้ปวดฟันก็อาจจะสายเสียแล้ว ที่หมอให้กลับมาทุก 6 เดือน ไม่ใช่มาเพราะดูว่าผุไหม แต่มาเพื่อดูว่ามีอะไรที่เราต้องดูแลเป็นพิเศษไหมเพื่อฟันจะได้ไม่ผุ”
แน่นอน ว่าการพาลูกไปหาหมอฟันเป็นสิ่งจำเป็นต้องทำตั้งแต่เด็ก แต่เรื่องที่พ่อแม่อดกังวลไม่ได้ว่าลูกจะเจ็บไหม เข้าไปในห้องแล้วจะร้องไห้หรือไม่ “เราจะคุยกับพ่อแม่ตั้งแต่แรกว่าปรัชญา วิธีการรักษาเป็นแบบนี้นะ พ่อแม่ยอมรับได้ไหม เช่น บางทีอาจจะต้องปิดประตู แบบนี้ คุณพ่อคุณแม่ยอมไหม ซึ่งพ่อแม่ก็ต้องปรับด้วยเพื่อให้เด็กเรียนรู้เองว่าอยู่ที่นี่เขาต้องฟังหมอ คือมันต้องไปด้วยกัน พ่อแม่ต้องเตรียมตัว หมอก็ต้องทำให้ดี ถ้าไปด้วยกันได้ดี มันก็ไม่มีปัญหา เด็กบางคนอาจจะร้องไห้ แต่บางคนก็ไม่ร้อง จากประสบการณ์ของเรา เราจะต้องประเมินเด็กตั้งแต่แรกแล้วว่าเด็กคนนี้จะให้ความร่วมมือมากน้อยแค่ไหน เด็กขี้อายหรือเปล่า หรือการแสดงออกของเขาเป็นอย่างไร ถ้าร้องนิดหน่อย อาจเป็นเพราะถูกขัดใจ ไม่ชอบ แต่ไม่ได้เป็นเพราะหมอทำให้เจ็บ หรือบางครั้งเด็กก็จะพึ่งแม่มากเกินไป มีอะไรก็หาแม่ ออดอ้อน หนูกลัว แต่ถ้าแค่เรียกชื่อแล้วร้องกรี๊ดๆ ลงไปนอนดิ้น หมอก็จะรู้ตั้งแต่ก่อนเข้าห้อง เราต้องบอกก่อน ถ้าบอกตอนที่ร้องแล้วมันยาก ไหนลูกจะร้อง คุณแม่ก็จะห่วง คุณหมอก็ทำอะไรไม่ได้”
นอกจากนี้ สิ่งสำคัญก่อนที่พ่อแม่ต้องเตรียม พ่อแม่ต้องสร้างทัศนคติที่ดีให้กับลูก ซึ่งคุณหมออัมพุชได้แนะนำไว้ในขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนที่จะพาลูกไปหาหมอฟันด้วย
- เลือกคลินิกที่มีหมอผู้เชี่ยวชาญเรื่องทันตกรรมสำหรับเด็ก(สามารถโทรไปสอบถามได้จากชมรมทันตกรรมสำหรับเด็ก) รู้จักเด็กดี เข้าใจจิตวิทยาเด็ก สร้างแรงจูงใจพื้นฐานที่ดีต่อเด็ก คุณพ่อคุณแม่อาจลองสอบถามจากเพื่อน หรือคนรู้จักถึงคลินิกที่สะอาด ปลอดภัย และคำนึงถึงตัวเด็กเป็นสำคัญ
- พ่อแม่ต้องเข้าใจหลักการการรักษาว่าการมาหาหมอฟันครั้งแรกตั้งแต่เล็ก เป็นการมาเพื่อการป้องกัน คุณหมอจะดูว่าเด็กคนนี้เสี่ยงที่ฟันจะผุไหม มีจุดอ่อนอยู่ตรงไหน ต้องเสริมสร้างอะไรบ้าง แล้วจัดโปรแกรมให้เหมาะสม รวมถึงสอนวิธีการดูแลช่องปากและฟันของเด็กอย่างถูกวิธี
- เมื่อพามาหาหมอแล้ว พ่อแม่ต้องพร้อมให้ความร่วมมือกับหมอ แล้วหมอก็ต้องพยายามพูดคุยให้พ่อแม่เข้าใจถึงหลักการ และวิธีการรักษา
- เมื่อลูกเริ่มโตขึ้น พ่อแม่ต้องมีจิตวิทยาในการสอนเด็ก ปูพื้นฐานที่ดีตั้งแต่เด็ก พ่อแม่บางคนกลัวหมอฟันมาก อาจจะบอกลูกว่าหมอฟันน่ากลัว เด็กก็จะซึมซับ เด็กอาจจะไม่บอกเป็นคำพูดว่ากลัวแต่ซึมซับไปในสมอง ไมใช่พรุ่งนี้จะไปหาหมอฟันแล้วบอกวันนี้ว่าไม่ต้องกลัว แต่ทุกวันถ้ากินอันนั้นอันนี้เข้าไป เดี๋ยวจะถูกหมอฟันถอนฟัน
- การสร้างทัศนคติที่ดีให้กับลูกก่อนไปหาหมอฟัน ทำได้หลายวิธี เช่น การอ่านหนังสือนิทาน เล่าเรื่องให้ฟังก่อนไปหาหมอฟัน ที่สำคัญอย่าสัญญากับเด็กว่าหมอจะไม่ทำอย่างนั้นอย่างนี้ เช่น บอกลูกว่าไม่ต้องกลัวลูกเพราะหมอจะไม่ถอนฟัน หรือหมอจะไม่ทำอย่างนั้นอย่างนี้
**เทคนิคการสร้างสุขภาพฟันให้แข็งแรง**
- เริ่มตั้งแต่ท้อง แม่ต้องกินอาหารที่มีประโยชน์ มีแคลเซียม โปรตีนให้ครบถ้วน และหลีกเลี่ยงโรคภัยไข้เจ็บ เพราะฟันเริ่มสร้างตั้งแต่อยู่ในท้อง ถ้าแม่ไม่สบายนานๆ และหนักๆ ลูกก็จะมีฟันที่ไม่แข็งแรง
- ถ้ามีฟันซี่แรกขึ้น ต้องรีบพาลูกมาหาหมอ เพื่อดูปัจจัยเสี่ยง และหมั่นความสะอาดช่องปากของลูกอย่างสม่ำเสมอก่อนที่ฟันซี่แรกขึ้น
- การสอนลูกเรื่องการแปรงฟัน ต้องเริ่มตั้งแต่เด็ก ช่วงที่เวลาจำเพาะที่ฟันจะผุมากที่สุดคือ 16-34 เดือน เพราะช่วงนี้ฟันจะขึ้นเต็มปาก
- ควรปลูกฝังทัศนคติที่ดีในการมาหาหมอฟัน เพื่อช่วยเสริมสร้างฟันให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
โดย : Mother&Care
Wednesday, May 27, 2009
ไปหาหมอฟันแค่เรื่อง Fun Fun
>
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
1 comments on "ไปหาหมอฟันแค่เรื่อง Fun Fun"
test
Post a Comment